บริษัทตรวจสอบภายใน

เรื่อง หากจะใช้ Cloud แทนห้องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Local Server) จะต้องเลือกอย่างไร

การลงทุนจัดทำห้อง Server รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้นใช้ต้นทุนมาก และที่สำคัญนั้นจะต้องมีคนคอยดูแลอีกด้วย ทำให้ปัจจุบันการเช่าใช้ Server บนระบบ Cloud นั้นเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่ Server บน Cloud นั้นไม่ได้ทำให้ต้นทุนลดลงนะครับ หากคิดระยะเวลาการใช้งาน 5 ปี อาจจะพอ กันหรืออาจจะสูงกว่าด้วย แต่ข้อดีก็คือ ไม่ต้องมีพนักงานมาตรวจสอบดูแล Server ไม่ต้องกังวลเรื่องการซ้อมแผนฉุกเฉินเพราะผู้ดูแล Server นั้นจะเป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด หลักการพิจารณาเลือกใช้ Cloud นั้นควรพิจารณาดังนี้

1. ผู้ให้บริการนั้นต้องมีมาตรฐาน ISO 27001 รุ่นล่าสุดหรือเปล่า ขณะนี้เขียนบทความนี้เป็นรุ่น 2013

2. ระดับการรับประกัน Server ทำงานอย่างต่อเนื่อง (Down time) ที่เหมาะสมกับความต้องการของบริษัท โดยพิจารณาง่าย ๆ ดังนี้

99% แสดงว่า Server อาจหยุดการทำงานได้ เดือนละ 7 ชั่วโมง

99.9% แสดงว่า Server อาจหยุดการทำงานได้ เดือนละ 43 นาที

99.99% แสดงว่า Server อาจหยุดการทำงานได้ เดือนละ 6 นาที

99.999% แสดงว่า Server อาจหยุดการทำงานได้ เดือนละ 26 วินาที

3. ระดับการรับประกัน Server ทำงานอย่างต่อเนื่องนั้น มีผลต่อราคาเช่าใช้ด้วย

4. ระดับ CPU, RAM และที่สำคัญคือเนื้อที่ Hard Disk มีผลต่อราคาเช่าใช้ด้วย

5. การสำรองข้อมูล ทั้งรายวัน และรายสัปดาห์ โดยสำรองที่ Site เดียวกัน และต่าง Site กัน

6. กรณี Site ที่เราเช่าใช้ไม่ประสบปัญหาไม่สามารถให้บริการได้ ระบบสามารถให้บริการจาก Site อื่นได้หรือไม่ ระยะเวลาในการขึ้นระบบที่ Site อื่นเป็นอย่างไร สอดคล้องกับข้อที่ 2 ที่กล่าวมาหรือไม่

7. มีการซ้อม และรายงานผลการซ้อมกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินให้ผู้เช่าได้ทราบหรือไม่

8. Internet จากบริษัท เพื่อออกไปใช้บริการ Cloud Server จะต้องเร็วและมากพอให้พนักงานใช้ และต้องเตรียมแผนสำรองหาก Internet ของบริษัทใช้งานไม่ได้จะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้พนักงานสามารถใช้งานระบบต่าง ๆ และธุรกิจดำเนินการต่อไปได้อย่างไม่สะดุด

สำหรับบริษัทที่ใช้บริการ Server Cloud เมื่อบริษัทตรวจสอบภายใน และภายนอก เข้ามาตรวจสอบ สิ่งที่จะต้องเตรียมให้พร้อมก่อนการตรวจสอบก็คือ สัญญาการให้บริการ (SLA) ใบรับรองมาตรฐานของผู้ให้บริการ สัญญารักษาความลับของผู้ให้บริการ รายการการทำงานของเครื่อง Server รายงานการสำรองข้อมูลของ Server และรายงานผลการทดสอบเหตุฉุกเฉิน


ดร. สุรพรรษ์ เพ็ญจำรัส
อังคารที่ 17 ตุลาคม 2560


“ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง เพื่อการพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด ในกรณีต้องการอ้างอิงเพื่อการศึกษา กรุณาให้เครดิตโดยอ้างอิงถึงผู้เรียบเรียงและบริษัทเจ้าของเว็บไซด์ด้วย”